นักเทรดทุกคนที่เคยเทรดคู่เงิน เช่น ฟอเร็กซ์ หรือเคยลงทุนในหุ้นหรือคริปโต ทำธุรกรรม CFD กับทองคำหรือน้ำมันล้วนเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบเงินสำรองของสหรัฐฯ (FRS) หรือธนาคารเฟด แม้ว่านักเทรดจะไม่ได้ชื่นชอบการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิคอย่างเดียวเท่านั้น ประสิทธิภาพในการคำนวณและอิทธิพลที่มีต่อกราฟนั้นจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ FRS เพราะการตัดสินใจเหล่านี้เองที่มีผลก่อตัวและสลายเทรนด์ในระยะสั้นและระยะยาวของโลกตลาดการเงิน แล้วองค์กรที่อยู่เบื้องหลังระบบเงินสำรองของสหรัฐฯ นั้นคืออะไรกันแน่?
ทายาทวิกฤติหวาดวิตกของเหล่าธนาคาร
รากฐานของระบบเงินสำรองของสหรัฐฯ (FRS) ย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ในปี 1886 ซึ่งกลุ่มเศรษฐีเงินล้านได้เข้าซื้อเกาะแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Jekkyl Island ตั้งอยู่ในรัฐจอร์เจีย และเปลี่ยนโฉมเกาะนี้ให้เป็นสโมสรส่วนตัว ครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดหกอันดับแรกของโลก เช่น Astors, Vanderbilts, Morgans, Pulitzers และอื่น ๆ จะมาพักร้อนที่เกาะแห่งนี้
การเป็นสมาชิกและเข้าถึงเกาะแห่งนี้นั้นจำกัดอยู่ในกลุ่มคนไม่กี่คน เช่น นาย Winston Churchill อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรก็ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมในกลุ่มผู้นำชั้นสูงดังกล่าว
ในช่วงสมัยนั้นในสหรับฯ มีข้อถกเถียงปรากฏขึ้นมาเกี่ยวกับการสร้างระบบที่มีศูนย์กลางเพื่อบริหารกิจกรรมทางการเงิน โดยมีสาเหตุมาจากการเกิดวิฤติการเงินครั้งใหญ่สี่ครั้งที่สร้างความเสียหายต่อประเทศระหว่างปี 1873 ถึง 1907 ในช่วงต้น แนวคิดการจัดตั้งธนาคารกลางเจอเสียงตอบรับในทางลบเป็นอย่างยิ่ง แต่ “วิกฤติ 1907” หรือที่เรียกว่า “ภาวะหวาดวิตกของเหล่าธนาคาร” (Banker’s Panic) ก็เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง วิกฤติดังกล่าวปะทุขึ้นมาเนื่องจากมีความพยายามที่จะเข้าซื้อหุ้นหนึ่งในบริษัทกลุ่มธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่กำลังขยายสาขาทั่วประเทศ ซึ่งไม่ได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่มลงเกือบ 50% เท่านั้น แต่ยังมีผลให้ธนาคารและธุรกิจอีกหลายแห่งพากันล้มละลาย และอัตราว่างงานที่สูงขึ้นด้วย
อย่างที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ในช่วงสมัยนั้น สหรัฐฯ ยังไม่มีธนาคารกลางที่กำกับดูแลเงินตราและป้องกันภาวะวิกฤติ ดังนั้น รัฐบาลจึงหันเข้าหาธนาคารเอกชน โดยเฉพาะ J.P. Morgan ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในเกาะ Jekyll ดังกล่าว (คงไม่มีใครไม่รู้จักธนาคาร J.P. Morgan) เขาได้ผนึกความร่วมมือจากสถาบันการเงินรายใหญ่หลายแห่ง และให้เงินสนับสนุนเพื่อช่วยให้สถานการณ์กลับมามีเสถียรภาพ ที่น่าสนใจก็คือ Morgan ถูกมองว่าเป็นทั้งสาเหตุผู้สร้างวิกฤตินี้ ก่อไฟขึ้นมา และก็เป็นผู้ที่ดับไฟให้สงบเอง
เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ระบบธนาคารอเมริกันจำเป็นต้องมีการปฏิรูป และการสร้างหน่วยงานกลางจำเป็นต้องมีการประสานงานระหว่างธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อรับประกันสภาพคล่องและความปลอดภัยของเงินฝาก สภาคองเกรสสหรัฐฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการทางการเงินแห่งชาติขึ้นมา พร้อมมอบหน้าที่ให้สอบสวนเรื่องการขาดเสถียรภาพของระบบธนาคารประเทศ ในปี 1913 มีการบังคับใช้กฎหมายที่จัดตั้งระบบเงินสำรองของรัฐฯ หรือ Federal Reserve System (FRS) เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารในสหรัฐอเมริกา
1913-1951: ระยะการจัดตั้ง
ในเวลานั้น FRS ประกอบด้วยธนาคารสำรองของรัฐระดับภูมิภาค 12 แห่ง (FRBs) ซึ่งแต่ละสาขาจะมีประธานเป็นของตนเอง และตำแหน่งกรรมการบริหารธนาคารกลาง (FRS Board) ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา คณะกรรมการบริหารฯ มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการให้แนวทางและการกำกับดูแลกิจกรรมของ FRBs ในภาพรวม ความรับผิดชอบ ได้แก่ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารระดับภูมิภาคจะต้องให้สินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ การออกพันธบัตร การดำเนินกิจกรรมกับหลักทรัพย์ของรัฐบาล และหน่วยงานอื่น ๆ รวมถึงการกำกับดูแลและตรวจสอบกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ในปี 1933 ช่วงที่มีการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) มีการบังคับใช้กฎหมายด้านการธนาคาร โดยริเริ่มใช้ระบบรับประกันเงินฝากของรัฐ และห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนและขยายอำนาจของ FRS ในปี 1935 มีการผ่านกฎหมายอีกหนึ่งฉบับเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการที่มีชื่อว่า Federal Open Market Committee (FOMC) ซึ่งกลายเป็นคณะกรรมการหลักที่กำหนดนโยบายทางการเงิน คณะกรรมการฯ นี้ได้รับอำนาจใหดำเนินกิจกรรมในตลาดเปิดกับหลักทรัพย์ มีอิทธิพลต่อปริมาณเงิน และอัตราดอกเบี้ยของภาคเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ในการกำกับดูแลการหมุนเวียนของเงินตราและการให้สินเชื่อ
ปัจจุบัน คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยกรรมการที่มีสิทธิ์ลงคะแนน 12 คน โดย 7 คนมาจากสมาชิกในกรรมการบริหารธนาคารเฟดสหรัฐฯ และ 5 คนเป็นประธานธนาคารเฟดสาขาระดับภูมิภาค (FRBs) ประธานธนาคารเฟดสาขานิวยอร์กเป็นสมาชิกถาวรในคณะกรรมการ FOMC ในขณะที่ประธาน FRBs อีกสี่ท่านจะมีการหมุนเวียนทุกปี
ในปี 1951 ธนาคารเฟดและกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้มีข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่า Treasury-Fed Accord ซึ่งกำหนดให้ ธนาคารเฟดมีความเป็นอิสระโดยสมบูรณ์แยกออกจากรัฐบาลในเรื่องนโยบายการเงิน และยุติการสนับสนุนผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่คงที่ ข้อตกลงดังกล่าวเอื้อให้ธนาคารเฟดมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจ และใช้เครื่องมือของตนเองในการบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ เสถียรภาพทางราคา การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการจ้างงานแบบเต็มที่ และสมดุลในเสถียรภาพการชำระเงิน
ความสำเร็จและความล้มเหลว
ตั้งแต่มีการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นมา ธนาคารเฟดมีประธานบริหารทั้งหมด 16 ท่าน แต่ละท่านล้วนมีประวัติความสำเร็จและความล้มเหลวเป็นของตนเอง เราจะมาลองพูดถึงผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารเฟดในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมากัน
– Paul Volcker: คงบอกไม่ได้ว่าธนาคารเฟดนั้นจะมีความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด ตัวอย่างเช่น ในปี 1979 ในช่วงที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงและภาวะเศรษฐกิจถดถอย ภายใต้การบริหารของนาย Paul Volcker ธนาคารฯ ก็มีการเปลี่ยนยุทธศาสตร์นโยบายทางการเงิน โดยหันไปให้ความสำคัญกับการจำกัดการเติบโตของปริมาณเงินมากกว่าการจัดการกับอัตราดอกเบี้ย แนวทางนี้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 20% ในปี 1981 แม้ว่าจะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อได้อย่างสำเร็จ โดยเงินเฟ้อลดลงมาเหลือ 3.2% ในปี 1983 แต่ก็เป็นสาเหตุให้เกิดขึ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก อัตราว่างงานสูง และปัญหาทางการเงินมากมายกับธนาคารหลายแห่ง
– Alan Greenspan: ในปี 1987 Alan Greenspan ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารเฟฟดสหรัฐฯ เขาเป็นหนึ่งในผู้ว่าการธนาคารฯ ที่มีอิทธิพลและดำรงตำแหน่งยาวนานมากที่สุด เขาใช้แนวทางนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและยืดหยุ่น ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ช่วยให้เงินเฟ้อต่ำ และสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน
Greenspan ยังต้องเจอกับอุปสรรคที่สำคัญและวิกฤติต่าง ๆ เช่นกัน รวมถึงเหตุการณ์ตลาดหุ้นล่มในปี 1987 การล้มละลายของเฮดจ์ฟันด์ LTCM ในปี 1998 เหตุการณ์ฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 และเหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน 2001 นักการเมืองและนักการเงินหลายคนมีความเห็นว่า ในทุกสถานการณ์เหล่านี้ เขามีท่าทีอย่างเด็ดขาดและตอบสนองทันทีด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่อง และสนับสนุนระบบการเงิน ฟื้นฟูความมั่นใจในเศรษฐกิจ Greenspan เกษียณอายุในปี 2006 และส่งต่อตำแหน่งให้กับนาย Ben Bernanke.
– Ben Bernankeนักเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์และทฤษฎีนโยบายทางการเงิน โดยเฉพาะในการศึกษาเรื่องภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) เขาเป็นผู้บริหารธนาคารเฟดในช่วงวิกฤติการเงินโลกระหว่างปี 2007-2009 วิกฤตินี้เป็นวิกฤติครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 1930 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมีสาเหตุมาจากฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ระเบิดขึ้นและแพร่กระจายไปยังภาคเศรษฐกิจและการเงินต่าง ๆ
Bernanke นำเครื่องมือทั้งหมดมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจล่มลงและเพื่อพยุงภาคเศรษฐกิจ เขาริเริ่มมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค Bernanke ยังได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาที่ระดับศูนย์ ให้สินเชื่อ และรับประกันทั้งธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารเพื่อการลงทุน บริษัทประกันภัย และบริษัทยานยนต์ต่าง ๆ ด้วย
Ben Bernanke ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลุ่มประเทศ G20 เพื่อประสานงานเรื่องมาตรการต่อต้านวิกฤติ เนื่องด้วยการดำเนินการเหล่านี้ ธนาคารเฟดจึงาสสมารถหลีกเลี่ยงการล่มสลายของระบบการเงิน และช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเหล่านี้ก็เผชิญกับคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเงินที่นำไปใช้กอบกู้สถาบันทางการเงินที่ไม่น่าเชื่อถือนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน
– หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งในปี 2014 ศาสตราจารย์ Janet Yellen สตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเฟดในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เธอยังคงใช้แนวทางนโยบายการเงินแบบยืดหยุ่นและผ่อนคลาย เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ บรรลุเสถียรภาพทางการเงินที่ยั่งยืนและอัตราว่างงานลดลง Yellen ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษในประเด็นเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน และการกำกับดูแลระบบธนาคาร เธอส่งเสริมเรื่องความยุติธรรมทางสังคมและการให้โอกาสอย่างเท่าเทียม และได้รับคำชื่นชมมากมายในเรื่องความสามารถ ประสบการณ์ และการมีมนุษยธรรมของเธอ
– ในปี 2018 Janet Yellen ส่งต่อตำแหน่งให้กับนาย Jerome Powell ผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2020 นายพาวเวลล์เจอกับวิกฤติไวรัสโคโรนาที่ไม่ได้คาดคิด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวอย่างรวดเร็ว อัตราว่างงานสูงขึ้น และตลาดการเงินซบเซา พาวเวลล์ตอบสนองอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดด้วยการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกือบถึงระดับศูนย์ และริเริ่มโครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อพยุงธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานการปกครองระดับรัฐและท้องถิ่น และตลาดการเงิน
ในปี 2021 พาวเวลล์เห็นการฟื้นตัวในเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องด้วยความคืบหน้าในวัคซีน การยกเลิกมาตรการจำกัด และการกระตุ้นทางการคลังที่ทั่วถึง อย่างไรก็ดี เขาต้องประสบกับความท้าทายใหม่ ๆ เช่น เงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขาดเสถียรภาพในตลาดแรงงาน และความเสี่ยงเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งกระตุ้นให้นโยบายทางการเงินของธนาคารเฟดหันเปลี่ยนไปเป็นการเพิ่มสภาพคล่อง (QT)
ข่าวฉาวและเรื่องแปลก ๆ
นอกเหนือจากความสำเร็จและความล้มเหลวแล้ว ผู้บริหารของธนาคารเฟดบางท่านยังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเหตุการณ์ที่ขบขันหรือบางครั้งก็เป็นข่าวฉาว
– William McChesney Martin (1951-1970) ไม่ได้เป็นที่รู้จักในฐานะประธานเฟดที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดเกือบ 20 ปีเท่านั้น แต่ยังเป็นคนที่ชอบเล่นมุกประชดประชันและเหน็บแนมในงานแถลงข่าว ครั้งหนึ่ง เขาให้นิยามสถาบันของตนเองว่า “งานของธนาคารเฟดคือ การเอาโถน้ำพันช์ไปเก็บในขณะที่ปาร์ตี้กำลังคึกคัก”
– Arthur Burns (1970-1978) ต้องเจอกับความยากลำบากในการจัดการกับเงินเฟ้อและอัตราว่างงานในช่วงวิกฤติน้ำมัน เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับข่าวฉาวเหตุการณ์ “Watergate” เมื่อมีการเปิดโปงว่าเขาได้สั่งลดอัตราดอกเบี้ยตามคำขอของเพื่อนคนสนิทคือ ประธานาธิบดีนิกสันเพื่อช่วยให้เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง
– Paul Volcker (1979-1987) โด่งดังเรื่องความชอบในบุหรี่ซิการ์ ความสูงถึงสองเมตรของเขา และพฤติกรรมชอบใส่เสื้อสูทและเนคไทเหมือนกันเพื่อประหยัดเวลาในการเลือกเสื้อผ้า มาตรการที่เด็ดขาดของเขาเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ และขึ้นดอกเบี้ยทำสถิติถึง 20% กระตุ้นให้เกิดความไม่พึงพอใจอย่างถ้วนหน้า ชาวนาที่โกรธแค้นจึงตอบสนองโดยการทำลายรถของเขาในขณะที่ Volcker กำลังเดินทาง และเรียกร้องให้ลดต้นทุนสินเชื่อที่โหดร้ายดังกล่าว
– Ben Bernanke (2006-2014) ต้องเจอกับคำกล่าวล้อเลียนเขา หลังจากมีคนได้ขโมยสมุดเช็คของผู้ว่าการธนาคารท่านนี้ไปและถอนเงินออกมา $9,000 จากบัญชีของเขา
– Jerome Powell (ประธานเฟดตั้งแต่ปี 2018) ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมและกลโกงของมิจฉาชีพมากมายที่แอบอ้างชื่อของเขา และใช้รูปของเขาเพื่อหลอกต้มตุ๋นให้คนโอนเงินให้
กลับ กลับ