EUR/USD: ก่อนการประชุมของธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรป
- ในสัปดาห์ที่แล้ว เราได้ตั้งชื่อให้กับบทวิเคราะห์ส่วนนี้ว่า “การจ้างงานและภาวะเงินเฟ้อตัดสินทุกอย่าง” ปัจจัยสองประการนี้เองที่เป็นตัวกำหนดนโยบายทางการเงินของบรรดาธนาคารกลางในสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน การประชุมครั้งถัดไปของธนาคารเฟดสหรัฐฯ จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม และตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารฯ จะเร่งกระบวนการจำกัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ และบางทีอาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แน่นอนว่าการตัดสินใจเหล่านี้จะได้รับอิทธิพลจากสถิติเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาในช่วงวันที่ผ่านมา
รายงานจากตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ดูค่อนข้างโดยรวม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3,000 ราย แต่ตัวเลขจริงลดลงถึง 43,000 อยู่ที่ 185,000 ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบกว่าครึ่งศตวรรษนับตั้งแต่ปี 1969 ในอีกด้านหนึ่ง สถานการณ์ในส่วนของผู้ยื่นขอรับซ้ำกลับแย่กว่าการคาดการณ์ จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 38,000 แทนที่จะลดลง 72,000 ราย แต่ถ้าหากเราสรุปดัชนีทั้งสองตัวนี้ เราจะได้ตัวเลขยอดการยื่นขอรับสิทธิ์ลดลง 5,000 ราย ซึ่งเป็นตัวยืนยันแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ จำนวนตำแหน่งงานเปิดว่างเพิ่มขึ้นมาอีก 431,000 ตำแหน่ง และในสหรัฐฯ ก็เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว
สำหรับภาวะเงินเฟ้อ ยิ่งอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น โอกาสที่ธนาคารเฟดจะเริ่มคุมเข้มนโยบายทางการเงินจะยิ่งเกิดเร็วขึ้น และเรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่การลดการซื้อสินทรัพย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ในขณะนี้ทำระดับสถิติในรอบ 40 ปี และเมื่อพิจารณาสถิติที่ประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขึ้นมา 6.8% ในรอบรายปีจาก 6.2% ในเดือนพฤศจิกายน ในส่วนดัชนีพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ 4.9% ปีต่อปี ซึ่งถือว่าสูงกว่าตัวเลขครั้งก่อนหน้าเช่นกัน (4.6% ในเดือนตุลาคม).และขณะนี้ ตลาดจะจับตารอดูว่าธนาคารเฟดจะตอบสนองต่อสถิติเหล่านี้อย่างไรในการประชุมที่จะจัดขึ้น นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด และผู้บริหารเคยออกมาโน้มน้าวนักลงทุนก่อนหน้านี้ว่ามีความพร้อมที่จะใช้มาตรการทางการเงินที่คุมเข้มมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญจาก Financial Times ประมาณ 70% เชื่อว่า การกลับมาของนโยบายทางการเงินสู่ระดับก่อนช่วงโควิดจะเป็นไปอย่างราบรื่น และอัตราดอกเบี้ยจะปรับเป็น 1.5% ภายในสิ้นปี 2023 (ขณะนี้อยู่ที่ 0.25%) ในขณะเดียวกัน มีผู้เชี่ยวชาญเพียง 10% ที่ตอบแบบสอบถามคาดว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะแรกจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2022 ส่วนอีก 50% เดิมพันว่าจะเกิดในไตรมาสที่ 2 และในส่วนการจำกัดมาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบาย (QE) โดยสมบูรณ์มูลค่า $120 พันล้านดอลลาร์นั้น ผู้ตอบแบบสำรวจกว่าครึ่งหนึ่งเชื่อว่าจะเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนมีนาคมของปีที่จะถึงนี้
การประชุมครั้งถัดไปของธนาคารกลางยุโรปจะเกิดขึ้นในวันเดียวกันกับการประชุมของธนาคารเฟดในวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม เราเคยเขียนวิเคราะห์ไว้แล้วว่า ธนาคารกลางยุโรปแตกต่างจากเฟดตรงที่ ฝั่งยุโรปมีแผนจะดำเนินการขั้นแรกในทิศทางนี้ในปี 2023 เท่านั้น ซึ่งยุโรปจะติดตามดัชนีราคาในประเทศยูโรโซนเพิ่มขึ้นทำสถิติอย่างใกล้ชิดในระหว่างนี้ แต่มีโอกาสที่ทางการยุโรปจะตัดสินใจเร่งดำเนินการดังกล่าว และทำตามธนาคารฝั่งสหรัฐฯ เช่นกัน ซึ่งนี่จะเป็นท่าทีเซอร์ไพรส์ที่ดีให้กับฝั่งกระทิงของคู่ EUR/USD และก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะคำแถลงในลักษณะเด็ดขาดของผู้บริหารธนาคารฯ อย่างเช่น อิซาเบล ชนาเบล ที่เริ่มจะส่งเสียงที่หนักแน่นออกมาจากธนาคารกลางยุโรป
สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรปรายนี้กล่าวไว้เมื่อไม่กี่วันก่อนว่า การซื้อสินทรัพย์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในช่วงที่เกิดภาวะช็อคในตลาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่สมดุลระหว่างข้อดีและข้อเสียของมาตรการ QE จะลดลงในช่วงการเติบโตของเศรษฐกิจ และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับการขาดเสถียรภาพทางการเงิน และตลาดก็ตอบสนองด้วยยูโรที่แข็งค่าขึ้น แม้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เพราะนี่เป็นถ้อยแถลงที่ไม่มีพันธะจากนางชนาเบล
คู่ EUR/USD จับตารอดูการประชุมของธนาคารทั้งสองฝฝั่งนี้ โดยราคาขยับอยู่ที่บริเวณ Pivot Point 1.1300 เป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ในครั้งนี้ ราคาปิดตลาดรอบห้าวันใกล้กับเส้นที่ระดับ 1.1316 ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญมี 75% คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อ อีก 20% เดิมพันกับแนวโน้มขาขึ้นของยูโร และอีก 5% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง
แต่เทรนด์ด้านข้างในช่วงสองสัปดาห์นี้ก่อให้เกิดความสับสนและผลลัพธ์ที่ไม่พ้องกันในหมู่อินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 60% ให้สัญญาณสีแดง 40% เป็นสีเขียว สำหรับในส่วนออสซิลเลเตอร์ 40% ชี้ไปยังทิศใต้ อีก 30% ไปทางทิศเหนือ และอีก 30% ชี้ออกทิศตะวันออก แนวต้านอยู่ในโซนที่ระดับ 1.1355, 1.1380, 1.1435-1.1465 และ 1525 ส่วนแนวรับที่ใกล้ที่สุด คือ 1.1300 จากนั้น ได้แก่ 1.1265, 1.1225, 1.1185 และ1.1075-1.1100
สำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ นอกเหนือไปจากการประชุมของธนาคารกลางและการแถลงข่าวที่ตามมาแล้ว สหรัฐฯ จะมีการประกาศสถิติดัชนียอดขายปลีกในวันพุธที่ 15 ธันวาคม รวมถึงการเผยแพร่สถิติกิจกรรมทางธุรกิจในเยอรมนีและยูโรโซนในวันที่ 16 ธันวาคม นอกจากนี้ยังมีการประชุมของคณะมนตรียุโรปในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์
GBP/USD: ก่อนการประชุมของธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรป
- วันที่ 16 ธันวาคม จะเป็นวันที่มีข่าวน่าตื่นเต้นมากมายสำหรับนักเทรด นอกเหนือจากฝั่งธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรปแล้ว ธนาคารแห่งชาติอังกฤษจะทำการตัดสินใจกำหนดนโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ยในวันนี้เช่นกัน และค่าดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคบริการของสหราชอาณาจักร ดัชนี Markit จะเผยแพร่ในวันเดียวกัน นอกจากนี้ สถิติอัตราว่างงานจะประกาศในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม รวมถึงสถิติอัตราเงินเฟ้อในตลาดผู้บริโภคของอังกฤษจะประกาศในวันพุธที่ 15 ธันวาคม อีกด้วย
เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากรัฐบาลอังกฤษนำเสนอมาตรการกักตัวรอบใหม่เนื่องด้วยไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ สถิติดังกล่าวบ่งชี้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Omicron เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุก ๆ สองหรือสามวัน การคำนวณอย่างง่ายชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มดังกล่าวอาจส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านคนภายในปลายเดือนนี้ (10.6 ล้านคนตามสถิติที่บันทึกไว้นับตั้งแต่ภาวะการระบาดเริ่มขึ้น) สถานการณ์นี้เป็นที่น่ากังวลสำหรับนักลงทุน ดังนั้น พวกเขาจึงไม่อยากได้ยินข่าวจากธนาคารแห่งชาติอังกฤษว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้จะส่งผลต่อแผนการจำกัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่
ฝั่งกระทิงของคู่ GBP/USD ไม่ยินดีกับสถิติเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอ ซึ่งปรากฏว่าแย่กว่าการคาดการณ์ นอกจากนี้ เงินปอนด์ยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากผลที่ตามมาของเบร็กซิตและความขัดแย้งกันระหว่างอียูและสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับเรื่องระเบียบไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝั่งสหราชอาณาจักรระบุว่า อังกฤษกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนสินค้าและอุปทานที่ชะงักตัว
ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ 40% ยังคงหวังว่าราคาคู่นี้จะขยับขึ้น แต่ถ้าหากธนาคารแห่งชาติอังกฤษไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ความหวังของพวกเขาจะละลายหายไปราวกับหมอกยามเช้าที่ปกคลุมลอนดอน และเมื่อพิจารณาท่าทีของรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการกักตัว มีแนวโน้มสูงที่ธนาคารฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อยไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) โหวตให้กับผลลัพธ์นี้จากการประชุม
การตัดสินใจที่ยังไม่เกิดขึ้นส่งผลให้คู่ GBP/USD ปิดตลาดในที่เดียวกันกับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในโซน 1.3265 อย่างไรก็ตามกลับมีอินดิเคเตอร์เทรนด์ถึง 75% บนกรอบ D1 ที่ยังคงสนับสนุนฝั่งเทรนด์หมี รวมถึงออสซิลเลเตอร์มี 80% และในส่วนที่เหลือ 20% ชี้ไปยังทิศเหนือ
ภารกิจอันดับแรกของฝั่งตลาดกระทิงคือการเอาชนะแนวต้านสำคัญที่โซน 1.3285-1.3300 และนี่จะไม่เป็นปัญหาหากธนาคารแห่งชาติอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ โดยแนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ระดับ 1.3360, 1.3410, 1.3475, 1.3515, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835 ส่วนแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 1.3210-1.3220 ตามมาด้วยระดับ 1.3195, 1.3160, 1.3135, 1.3075 และในกรณีที่ราคาฝ่าลงแนวรับ ราคาอาจลดลงต่อมายังระดับ 1.2960
USD/JPY: เงินเยนตั้งรับและเอาอยู่
- หากคู่ EUR/USD ขยับอยู่บริเวณ 1.1300 เป็นสัปดาห์ที่สอง คู่ USD/JPY ก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่อยู่ที่บริเวณระดับ 113.30 ความต้องการในความเสี่ยงที่กลับมาสู่ตลาดและผลักดัชนีหุ้นให้เป็นบวกนั้นแทบจะไม่มีอิทธิพลอะไรต่อค่าเงินเยนญี่ปุ่นเลย ซึ่งได้รับแรงหนุนจากคำแถลงของ นายฮิโตชิ ซูซูกิ กรรมการบริหารธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น เขากล่าวโดยให้ความเห็นต่อเรื่องสถานการณ์โควิด-19 ว่า หากธนาคารเฟดสหรัฐฯ เริ่มลดมาตรการ QE และขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน เขามองว่าธนาคารฯ สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ทันทีที่ความไม่แน่นอเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาเริ่มหายไป ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตขึ้น ทั้งนี้ ไม่คุ้มค่าอย่างแน่นอนที่จะคาดหวังว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคมนี้ ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่อัตราดอกเบี้ยจะคงที่อัตราติดลบเดิมที่ -0.1%
อมามิยะ รองประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น พยายามจะเสริมบรรยากาศที่ดีให้กับนักลงทุน เขามองว่า เศรษฐของประเทศอยู่ในภาวะซบเซา แต่จะฟื้นตัวในช่วงปี 2022 แม้ว่าจะยังคงมีสายพันธุ์ Omicron ระบาดอยู่ ความเห็นของเขาออกมาหลังมีการรายงานสถิติ GDPในไตรมาส 3 ที่อ่อนแอของญี่ปุ่นเมื่อวันพุธที่ 8 ธันวาคม โดยดัชนีลดลง 0.9% จากตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ -0.8% และตัวเลขคาดการณ์ที่ +0.4%
ในบทวิเคราะห์ครั้งที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าคู่ USD/JPY จะพยายามอีกครั้งที่จะกลับมายังกรอบ 113.40-114.40 ซึ่งนี่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ดอลลาร์เริ่มแข็งค่าขึ้น และขยับขึ้นมายังระดับ 113.95 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม จากนั้นก็ตามมาด้วยการกลับตัวของเทรนด์และราคาปิดตลาดที่กรอบด้านล่างที่ 113.40
สำหรับการคาดการณ์ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 80% เชื่อว่า ราคาคู่นี้จะขยับขึ้นอีกครั้งโดยจะได้รับแรงสนับสนุนจากธนาคารเฟด และมีโอกาสที่ราคาจะฝ่ากรอบด้านบนของช่อง 113.40-114.40 โดยมีแนวต้านที่ 113.70, 114.00, 114.40, 114.70, 115.00 และ 115.50 ด้านเป้าหมายในระยะยาวของฝั่งกระทิงคือระดับสูงสุดของเดือนธันวาคมปี 2016 ที่ 118.65 ทั้งนี้ มีนักวิเคราะห์ 20% เท่านั้นที่โหวตให้กับแนวโน้มตลาดหมี โดยให้แนวต้านใกล้ที่สุดไว้ที่ 112.55, 112.00 และ 111.65
ในหมู่ออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 60% ให้สัญญาณทิศใต้ ส่วน 30% มีท่าทีเป็นกลาง และอีก 10% ที่เหลือชี้ไปยังทิศเหนือ และอินดิเคเตอร์เทรนด์ให้ภาพรวมที่เท่ากัน 50-50
คริปโตเคอเรนซี: นักลงทุนเดิมพันกับ Ethereum
- ขณะนี้ยังไม่ปรากฏคำอธิบายที่ชัดเจนว่าทำไมราคาบิทคอยน์ถึงร่วงลงต่ำกว่า $42,000 เมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม เราควรให้ความสนใจว่าแนวโน้มขาลงของตลาดคริปโตเกิดขึ้นพร้อมกันกับช่วงที่ตลาดหุ้นทรุดลงและนักลงทุนหนีออกจากสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง เหตุผลเบื้องหลังนี้เป็นเพราะข่าวเกี่ยวกับบริษัทอสังหาฯ ขนาดใหญ่ที่สุดของจีน Evergrande ซึ่งสื่อต่าง ๆ รายงานว่า ผู้ก่อตั้งบริษัทถูกรัฐบาลจีนเรียกตัวเพราะมีโอกาสที่บริษัทจะล้มละลาย ซึ่งอาจสร้างปัญหาที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมได้
นักวิเคราะห์จาก Galaxy Digital Research ไม่เชื่ออย่างนั้น เขามองว่าตลาดทรุดตัวลงเพราะความวิตกกังวลโดยรวมเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron และคำแถลงของ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด เกี่ยวกับการจำกัดมาตรการ QE ที่อาจเกิดขึ้นเร็วกว่ากำหนด
จะอย่างไรก็ตาม หลังจากบิทคอยน์ทำสถิติที่ราคา $68,780 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ราคาก็ร่วงลงมาเป็นเวลาห้าสัปดาห์ติดต่อกัน และทัศนคติที่ดีของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญเริ่มจางหายไปพร้อมกับมูลค่าเหรียญเช่นกัน
นายแมตต์ ฮูแกน ประธาน Bitwise Asset Management เชื่อว่าขณะนี้บิทคอยน์ยังไม่น่าจะสามารถทำสถิติสใหม่ได้ทันและขยับถึง $100,000 ได้ก่อนสิ้นปี 2021. “ผมคิดว่าเป้าหมายนี้น่าจะเป็นของปี 2022,” เขากล่าวในบทสัมภาษณ์กับ Bloomberg ซึ่งการเติบโตนี้ควรได้รับการขับเคลื่อนจากสถาบันต่าง ๆ และรวมถึง “ปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ”
ลูอิส นาเวลเลียร์ นักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังเชื่อว่า ฟองสบู่ขนาดใหญ่ลอยตัวขึ้นในตลาดหุ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับฐานของสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงครั้งใหญ่ บิทคอยน์จึงอาจร่วงลงมาที่ $10,000
เขาย้อนไปถึงแนวโน้มขาลงครั้งสำคัญของบิทคอยน์ที่้เกิดขึ้นหลังจากการปรับฐานของสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงที่คล้ายคลึงกันเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ปี 2020
เขามองว่า สถานการณ์ในครั้งนี้อาจแย่กว่า และบิทคอยน์อาจเสียมูลค่าได้ถึง 80% ของมูลค่ารวมทั้งหมด ซึ่งอาจได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ในการจำกัดนโยบายทางการเงิน
“หากราคาร่วงลงต่ำกว่า $46,000 (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน) จะเป็นสัญญาณของแนวโน้มตลาดหมี บิทคอยน์จะต้องร่วงลงมาที่ $28,500 เพื่อทำกราฟรูป double top โดยสมบูรณ์ และแนวโน้มขาลงดังกล่าวอาจชี้ว่าราคาจะปรับลงต่อไปต่ำกว่าระดับ $10,000 ซึ่งนี่เป็นแนวโน้มขาลง 80% และบิทคอยน์ก็เคยแสดงพฤติกรรมที่คล้ายกันนี้มาแล้ว” กล่าวโดยนักลงทุนโดยสื่อถึงเหตุการณ์เมื่อช่วงปลายปี 2017
อย่าลืมว่าแนวโน้มขาลงระยะยาวในตอนนั้นเกิดขึ้นตามมาหลังจากราคาขึ้นไปที่ $19,270 และใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่าเป็นช่วงฤดูหนาวคริปโต ซึ่งคู่ BTC/USD เสียมูลค่าไปเกือบ 85%
การกลับตัวอย่างรวดเร็วสู่ทิศใต้นี้เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ในปี 2017 เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 อีกด้วย และแน่นอนเราอาจนึกถึงตัวอย่างล่าสุดเมื่อช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งบิทคอยน์ร่วงลงไปกว่า 55% ในเวลาสามเดือน
คลื่นตลาดหมีเหล่านี้กระทบต่อกระเป๋าเงินและวอลเล็ตของนักเก็งกำไรอย่างหนัก และทำให้เราได้พูดถึงโอกาสที่บิทคอยน์และตลาดคริปโตจะล่มสลายไปอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ด้าน 99bitcoins คำนวณว่า ปีนี้ยังไม่จบลงแค่นี้ และ BTC ก็ถูกทำนายว่าสินทรัพย์นี้จะตายไปแล้วถึง 41 ครั้ง โดยคนที่ไม่ชื่นชอบบิทคอยน์เคยทำนายไว้มากกว่านี้ในปี 2017 และ 2018 ซึ่งมีการรายงานว่าบิทคอยน์จะตายหายไปถึง 124 และ 93 ครั้ง ตามลำดับ
คำทำนายชะตาชีวิตของบิทคอยน์ล่าสุดเป็นของ บิล เบลน นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกบิทคอยน์ว่าเป็นกลโกงพอนซีที่ไม่สามารถตอบสนองหน้าที่ของเงินได้ และโต้แย้งว่าคริปโตเคอเรนซีจะทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น
นายเบลนมีความแตกต่างไปจากนักวิจารณ์คริปโตคนอื่น ๆ โดยเบลนมีข้อกังขาเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนเช่นกัน “ในบางโอกาส ผมก็เจาะลึกไปยังกองขยะในคราบของบล็อกเชนอัจฉริยะ คณิตศาสตร์ และตรรกะคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้การเข้ารหัส คุณอ่านเองเลย มันคือความสนุก 10% และเป็นเรื่องไร้สาระทั้งหมดอีก 90%” เขาระบุ
โทน ไวส์ นักวิเคราะห์และนักเทรดชื่อดังเชื่อว่า บิทคอยน์จะมีโอกาสที่จะขยับถึงระดับสูงสุดใหม่ในปีนี้มากขึ้นหลังจากราคาทรุดลงมาที่ $42,000 เหรียญนี้จะต้องยืนเหนือ $53,500 ให้ได้ เพื่อให้ฝั่งกระทิงรีบคว้าโอกาสนี้ “ผมคิดว่ามันจะเป็นกราฟรูปตัววี เราจะมีโอกาสอีกครั้งให้ได้ซื้อบิทคอยน์ที่ราคาต่ำกว่า $50,000” นายไวส์เชื่ออย่างนั้น
หากแนวโน้มขาลงยังดำเนินต่อไปภายใต้สภาพแวดล้อมในทางลบ บิทคอยน์จะดึงดูดความสนใจของผู้ถือเหรียญระยะยาวอย่างแน่นอน ทุกครั้งที่มีการย่อตัว นักลงทุนจะเริ่มช้อนซื้อเพื่อคาดหวังว่าราคาจะขยับขึ้นรอบใหม่ และไม่ยอมให้ตลาดคริปโตทรุดตัวลงอย่างควบคุมไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ ผู้ถือบิทคอยน์รายใหญ่ (ตั้งแต่ 100 ถึง 10,000 BTC) ได้เข้าซื้อแล้ว 67,000 เหรียญเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แน่นอนว่านี่อาจไม่ใช่จำนวนมาก เราจึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงการกลับมาของเทรนด์กระทิง ในทางกลับกัน ความได้เปรียบนั้นยังคงอยู่ในมือของฝั่งตลาดหมีที่พยายามจะดันราคา BTC/USD ให้ลงต่ำกว่าโซน $46,000-48,000 ซึ่งเป็นบริเวณที่ระดับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รอบ 200 วัน ขยับผ่าน
ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ (คืนวันที่ 10 เข้า 11 ธันวาคม) มูลค่ารวมของตลาดคริปโตอยู่ที่ $2.215 ล้านล้านเหรียญ (ลดลง 25% เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ยังคงอยู่ในโซนหวาดกลัวอย่างยิ่ง (Extreme Fear) ที่ 24 จุด แต่ดัชนีการครองตลาดของบิทคอยน์ลดลงมาเหลือ 39.88% ซึ่งให้ส่วนแบ่งกับคู่แข่ง Ethereum มากขึ้น ตอนนี้มีสัดส่วนในตลาดแล้วที่ 22% (เทียบกับเมื่อช่วงต้นปีนี้ที่ 71.86% สำหรับ BTC และ 10.63% สำหรับ ETH)
กราฟ ETH/USD ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อีธีเรียมกำลังฟื้นตัวดีกว่าบิทคอยน์เป็นอย่างมากหลังแนวโน้มขาลงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม และหากคู่ BTC/USD ขยับขึ้นมามากกว่า 55% ในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมา แนวโน้มขาขึ้นของ ETH/USD นั้นมากกว่า 130%
ปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับช่วงเดือนที่ผ่านมา คือ การเผาเหรียญสำหรับธุรกรรมบนเครือข่าย และการที่อัตราการเผาเหรียญมากกว่าอัตราการผลิตนั่นเอง เครือข่ายอีธีเรียญเผาเหรียญไปแล้วมากกว่า 1 ล้านเหรียญนับตั้งแต่การฮาร์ดฟอร์กของลอนดอน
ราฮูล ไร ผู้จัดการกองทุนคริปโต BlockTower Capital เชื่อว่า ความคล่องตัวของบล็อกเชนอีธีเรียมจะเป็นปัจจัยสำคัญหลักที่จะดึงดูดทั้งนักพัฒนาและนักลงทุน เขามั่นใจว่า หากอีธีเรียมสามารถเริ่มสร้างระบบการเงินโลกขึ้นใหม่ได้ ตลาดจะมีขนาดใหญ่มากกว่าบิทคอยน์ในอนาคต เศรษฐีคริปโตรายนี้ยังทำนายด้วยว่า สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กลางปี 2022 ซึ่ง ETH จะเป็นคริปโตเคอเรนซีเหรียญแรกในแง่ของมูลค่ารวมในตลาด
นักวิเคราะห์จาก JPMorgan ให้ความเห็นที่คล้ายกันในเดือนเมษายน พวกเขามองว่าบิทคอยน์เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ของผู้บริโภค ซึ่งสามารถแข่งขันกับโลหะมีค่าได้ในฐานะตัวสะสมมูลค่า แต่บิทคอยน์จะต้องเปิดทางให้กับอีธีเรียมในระยะยาว เพราะเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจคริปโต
แมตต์ ฮูแกน ประธาน Bitwise Asset Management ได้ทำนายว่า “กระแสกิจกรรมบนเครือข่ายอีธีเรียมจะตื่นตัว” ผู้แทนจาก Bitwise เน้นถึง DeFi, NFT, Web 3.0 และเมตาเวิร์ส รวมถึงศักยภาพในการเติบโตของอัลท์คอยน “นักลงทุนจะหันมาหา Ethereum, Solana หรือ Polygon พวกเขาเริ่มเข้าใจแล้วว่าคริปโตเคอเรนซีนั้นมีมากกว่าแค่บิทคอยน์” เขากล่าว
***
ส่วนเรากำลังเผชิญกับกระแสตื่นตัวในกิจกรรมของลูกค้า NordFX ผู้คอยสะสมตั๋วล็อตเตอรีอย่างต่อเนื่อง เพราะการจับรางวัลซูเปอร์ล็อตเตอร์รีในช่วงปีใหม่จะจัดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ และยิ่งมีตั๋วมากเท่าไร คุณจะยิ่งมีสิทธิ์เป็นผู้ชนะรางวัลตั้งแต่ $500 ถึง $20,000 มากขึ้นเท่านั้น
เหลือเวลาอีกไม่มาก แต่คุณยังสามารถเข้าร่วมได้ กิจกรรมนี้สามารถเข้าร่วมได้ง่าย ๆ โปรดดูรายละเอียดบนเว็บไซต์ของ NordFX
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ