อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
- EUR/USD เราได้เขียนหลายครั้งเกี่ยวกับความกลัวของธนาคารกลางยุโรปต่อค่าเงินที่แข็งค่าของยูโร เนื่องจากสิ่งนี้จะเป็นภัยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป อย่างไรก็ตาม ทั้ง นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปและกรรมการบริหารล้วนไม่ต้องการจะเริ่มสงครามค่าเงินกับธนาคารเฟดของสหรัฐฯ ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามที่จะพลิกสถานการณ์ในตลาดด้วยคำพูดมากกว่าการกระทำ
รายงานการประชุมเดือนกันยายนของธนาคารกลางยุโรปทำให้นักลงทุนเชื่อว่า ธนาคารกลางฯ อาจขยายมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในอนาคตอันใกล้เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจจากการระบาดรอบที่สองของไวรัส COVID-19 และอาจรวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และเมื่อดูที่อัตราแลกเปลี่ยนในตอนแรก ดูเหมือนว่าตลาดจะเชื่อในสิ่งเหล่านี้: ราคาคู่ EUR/USD ขยับลดลง และดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ทั้งหมดนี้ใช้เวลาไม่นาน ราคาได้เสียตำแหน่งประมาณ 80% และขยับถึงโซน 1.1725 ก่อนที่จะกลับทิศทางและขยับขึ้นเหนืออีกครั้ง และปิดตลาดที่ 1.1825 ทำให้ราคานั้นกลับมาที่โซนตรงกลางของกรอบด้านข้างบริเวณ 1710-1.1920 ซึ่งเป็นกรอบที่ปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม
มีความเป็นไปได้สูงที่การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ดังกล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ผลลัพธ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน โดยมีการคาดหมายว่าชัยชนะของ นายโจ ไบเดน จะช่วยฉุดตลาดหุ้นขึ้นมาและทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ S&P500 จึงขยับขึ้น 265 จุดในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ครึ่ง และดอลลาร์อ่อนค่าลง 210 จุดในรอบสองสัปดาห์ แม้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ทั้งหมดนี้จะเป็นเพราะแรงอารมณ์เป็นหลัก และยากที่จะมีใครพออธิบายได้ว่าทำไมนายไบเดนถึงเป็นคู่แข่งที่ดีกว่าและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากกว่านายทรัมป์ - GBP/USD โดยทั่วไป พฤติกรรมของคู่นี้เป็นไปตามการเคลื่อนที่ของคู่ EUR/USD ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของสกุลเงินยุโรปและอังกฤษเป็นหลัก แต่ขึ้นอยู่กับดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
สถิติเศรษฐกิจมหภาคเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรให้ผลในทางลบทั้งหมด สถิติจากภาคการก่อสร้า การผลิตอุตสาหกรรม ค่า GDP ทุกอย่างนั้นล้วนอยู่ในโซนติดลบ ไม่มีความคืบหน้าพิเศษใด ๆ เกี่ยวกับการเจรจาเบร็กซิต แต่ตลาดไม่ได้ตอบสนองต่อสถิติเหล่านี้ในทางใด และหากเราดูผลลัพธ์ในรอบสัปดาห์จะเห็นว่า เงินปอนด์นำเหนือดอลลาร์เล็กน้อย โดยได้แข็งค่าขึ้นมา 100 จุด อันเนื่องมาจากการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงโดยรวม (ดัชนี DXY ปรับลดลงจาก 94.64 เมื่อวันที่ 25 กันยายน เหลือ 93.06 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม) คู่ GBP/USD ปิดตลาดที่ 1.3045 ในโซน Pivot Point ของช่วงสิบสัปดาห์ที่ผ่านมา - USD/JPY มีนักวิเคราะห์เพียง 15% ที่โหวตให้กับแนวโน้มขาขึ้นของคู่นี้ในคำทำนายครั้งก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นสัปดาห์ ราคาคล้อยตามและขยับขึ้นเหนือไปยังโซน 106.00 ชัดเจนว่านักลงทุนไม่อยากจะหลบภัยอย่างเงียบสงบในญี่ปุ่น และต้องการความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดูสงบลงเล็กน้อย ราคาได้เคลื่อนที่ด้านข้างและกลับมาสู่บริเวณที่ราคาได้คงอยู่ในช่วงวันที่ 25 กันยายน - 7 ตุลาคม ในตอนท้ายสัปดาห์ โดยขยับไปที่โซน 105.60 ดังนั้น ผลลัพธ์ของสองสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงถือได้ว่าเป็นศูนย์
- คริปโตเคอเรนซี บางทีบิทคอยน์อาจได้กลายเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างสมบูรณ์แล้ว? ผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุนหลายท่านถามคำถามนี้ จริงอยู่ที่ราคาไม่สามารถทะยานเหนือระดับ $11,000 เป็นเวลาห้าสัปดาห์ติดต่อกัน แต่ราคาก็ไม่ดิ่งลงเช่นกัน โดยทำกราฟรูปทรง “สามเหลี่ยมขาขึ้น”
ราคาไม่ได้รับผลกระทบจากข่าวการที่ประธานาธิบดีทรัมป์และครอบครัวติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือข่าวการโจมตีของแฮ็คเกอร์ หรือการโจมตีสถาบันการเงิน แล้วบิทคอยน์ตอบสนองต่อข่าวที่ CFTC ร่วมกับสำนักงานอัยการสหรัฐฯ กล่าวหาตลาด BitMEX หนึ่งในตลาดแลกเปลี่ยนขนาดใหญ่ที่สุดว่ามีการฉ้อโกงอย่างไร? ก็ไม่ตอบสนองเช่นกัน! หรือแม้แต่ข่าวการโจรกรรมสินทรัพย์คริปโตมูลค่ากว่า $200-350 ล้านจากตลาดแลกเปลี่ยน KuCoin ของฮ่องกง ซึ่งหากเป็นก่อนหน้านี้คงมีผลกระทบอย่างหนัก แต่ในเวลานี้กลับเป็นความนิ่งสงบ
ไม่ต้องพูดถึงการจับกุมผู้ก่อตั้ง McAfee ผู้ก่อตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัสชื่อดังซึ่งกลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียงในโลกแห่งเงินคริปโตจากการเดิมพันและคำทำนายที่สุดโต่ง นายจอห์น แมคกาฟี (เคยเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรค Libertarian) หลีกเลี่ยงที่จะจ่ายภาษีด้วยความช่วยเหลือของคริปโตเคอเรนซี แล้วข่าวนี้มีผลอะไร? ข่าวนี้น่าฉงนใจไม่น้อย แต่ก็ยังไม่ใช่เหตุผลมากพอที่จะทำให้ราคาดิ่งลงไป
ความผันผวนของบิทคอยน์ได้ขยับถึงระดับต่ำที่สุดในรอบสองปีที่ผ่านมา มีรายงานจากทีมบริการการวิเคราะห์ CoinMetrics ที่ระบุว่า นักลงทุนในช่วงนี้ชื่นชอบที่จะเก็บเหรียญไว้มากกว่านำไปขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากช่วงภาวะทรุดตัวในเดือนมีนาคม นักลงทุนได้โอนบิทคอยน์จากตลาดแลกเปลี่ยนไปยังวอลเล็ตแช่แข็งไว้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่จะถือเงินคริปโตในระยะยาว จำนวนที่อยู่ BTC ที่เกินหนึ่งปีขึ้นไปนั้นได้ขยับถึงระดับสูงสุดในรอบสิบปีเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีบิทคอยน์ถึง 63.5% ที่ไม่ได้เคลื่อนย้ายไปที่ไหนตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2019
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คู่ BTC/USD ไม่ได้ขยับลงต่ำกว่า $10,500 โดยได้มีความพยายามอีกครั้งหนึ่งที่จะตัดผ่านระดับแนวต้านที่ $11,000 ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์ที่นำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญของเรา ณ เวลาที่เขียนบทวิเคราะห์นี้นั้น ราคาบิทคอยน์อยู่ที่ $11,100 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าราคาจะสามารถยืนเหนือโซนดังกล่าวได้หรือไม่ โดยราคาอาจมีความผันผวนมากขึ้นในช่วงเวลาเสาร์อาทิตย์
มูลค่ารวมในตลาดคริปโตเติบโตขึ้นจาก $330 พันล้านเหรียญเป็น $349 พันล้านเหรียญภายใน 7 วัน นอกจากนี้ กราฟยังมีลักษณะคล้ายกันกับกราฟ BTC/USD ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ย้ำเตือนเราว่าบิทคอยน์นั้นเป็นตัวคุมตลาด ในส่วนดัชนี Crypto Fear & Greed Index นั้นอยู่ที่ 48 เกือบจะอยู่ที่ตรงกลางของเกณฑ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายน ดัชนีนี้ไม่เคยขยับเหนือระดับตรงกลาง โดยคงตัวอยู่ในช่วงบริเวณ 40 ถึง 50 อันเป็นไปตามความผันผวนต่ำในปัจจุบันของ BTC/USD และยืนยันความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของตัวชี้วัดสองตัวเหล่านี้
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งถัดไปเริ่มใกล้เข้ามา ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 3 พฤศจิกายน แต่สิ่งนี้จะเปลี่ยนอะไรได้อย่างสุดโต่งบ้าง? โดยทฤษฎีแล้ว เรากำลังพูดถึงการปรับสมดุลนโยบายทางการเงิน ซึ่งอาจช่วยให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ในทางปฏิบัติก็คือความสามารถของธนาคารสหรัฐฯ ที่ถูกจำกัดอย่างมากอยู่แล้วในขณะนี้
Wall Street Journal ชี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (57%) เชื่อว่า ไม่ว่าใครจะได้ดำรงตำแหน่งในทำเนียบขาว ตลาดแรงงานจะไม่สามารถกลับมาสู่การจ้างงานอย่างเต็มพิกัดได้จนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย และนี่จึงเพิ่มความเป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะอ่อนค่าลงต่อไป และราคา EUR/USD จะขยับสูงขึ้น ตรงนี้เองเราจึงควรพูดถึงความขัดแย้งเรื่องวิกฤติค่าเงินระหว่างธนาคารกลางยุโรปและธนาคารเฟดสหรัฐฯ
อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้า ธนาคารกลางยุโรปไม่ชอบเห็นดอลลาร์ที่อ่อนแอและเงินยูโรที่แข็งค่าแม้แต่น้อย และจะยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นราคานี้ขยับลงทิศใต้ ในบรรดาข้อโต้แย้งที่จะช่วยโน้มน้าวนักลงทุนให้ปฏิบัติในทางนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าต้องเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เลวร้ายลงยิ่งกว่าเดิมในยุโรป รวมถึงคำทำนายสภาพเศรษฐกิจของประเทศโลกเก่าที่ติดลบ ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรปต้องขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการสร้างโครงการ QE ต่อไป
และอีกหนึ่งปัจจัยคือการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อตลาดหุ้นขยายตัว แต่หากเกิดกรณีที่หลังจากเราทราบผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ แล้วนักลงทุนเริ่มเก็บกำไรขนานใหญ่ สิ่งนี้จะทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรงและยูโรอ่อนค่าลง ตลอดจนสกุลเงินอื่น ๆ
ส่วนเหตุการณ์ที่น่าสนใจและสำคัญมากที่สุดในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ คือ คำกล่าวของนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 12 และ 13 ตุลาคม การประกาศสถิติเศรษฐกิจมหภาคในตลาดผู้บริโภคองสหรัฐฯ ในวันที่ 13 และ 16 ตุลาคม รวมถึงการอภิปรายระหว่างผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ในวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม
- EUR/USD อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% บนกรอบ H4 และ D1 ให้สีเขียว ในบรรดาออสซิลเลเตอร์ ส่วนใหญ่ 75%) ก็ชี้ไปทางทิศเหนือเช่นกัน แต่มี 25% แล้วที่ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในช่วง overbought ในส่วนการวิเคราะห์กราฟชี้ว่า ราคาจะขยับในกรอบ 1710-1.1920 ในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า หลังจากนั้นจะขยับลงมาที่ราคาต่ำสุดของวันที่ 25-28 กันยายน ในโซน 1.1600 สำหรับผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) เชื่อว่า ราคาจะขยับขึ้นไปยังกรอบด้านบนของช่องดังกล่าวก่อนที่จะปรับตัวลดลง และผู้เชี่ยวชาญ 40% ที่เหลือคาดว่าราคาจะดิ่งลงมาอย่างรวดเร็วที่ 1.1600 - GBP/USD ในที่นี้เช่นเดียวกันกับค่าเงินสกุลอื่น ๆ คำคาดการณ์นั้นอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของนักลงทุนว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง GBR100 นั้นได้ขยับขึ้นตามดัชนีตลาดอเมริกัน และหากตลาดหุ้นอเมริกาขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องและดอลลาร์อ่อนค่าลง GBP/USD ก็จะขยับขึ้นต่อไป หากเริ่มมีการเก็บกำไรชุดใหญ่ในตลาดหุ้นก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เราก็อาจจะได้เห็นแนวโน้มขาลง
สำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคและกราฟนั้นเป็นไปตามคู่ “มิตรสหาย” คู่ EUR/USD เช่นกัน การยกเลิกความสัมพันธ์ของสองคู่นี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยสองเหตุผล ได้แก่ 1) หากมีเหตุการณ์พิเศษใด ๆ เกิดขึ้นในการเจรจาระหว่างอียูและสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับเบร็กซิต หรือ 2) หากธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจที่จะใช้มาตรการชุดถัดไปเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจยูโรโซน และธนาคารกลางอังกฤษยังคง “ท่าทีเดิม” โดยไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใด ๆ เพิ่มเติม โดยคำแถลงของ นายแอนดริว ไบเลย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม มีแนวโน้มที่เขาจะให้สัญญาณทิศทางนโยบายของธนาคารแห่งชาติอังกฤษในอนาคต
อย่างที่กล่าวไปแล้ว ราคาคู่นี้ได้ปิดตลาดในรอบท้ายสัปดาห์ในช่วง Pivot Point ระยะกลางที่ 1.3045 โดยมีแนวรับที่ใกล้ที่สุดที่ 1.3000 แนวรับถัดไปที่ 1.2840, 1.2760 และ 1.2675 ส่วนแนวต้าน ได้แก่ 1.3120, 1.3185 และ 1.3265 - USD/JPY เมื่อพิจารณาผลลัพธ์ของช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตอันใกล้ของคู่นี้ และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญๅ (50% ต่อ 50%) ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ แต่หากคุณดูการวิเคราะห์และออสซิลเลเตอร์ในกรอบ D1 ฝั่งที่ได้เปรียบนั้นเป็นฝั่งกระทิง และมีโอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นไปยังแนวต้านที่ 106.00 และจากนั้นที่ 106.40 และท้ายที่สุดที่ระดับ 107.20
หากเราปรับจากคำทำนายรอบสัปดาห์เป็นรอบเดือน เราจะเห็นฝั่งที่เป็นต่ออย่างชัดเจนในหมู่นักลงทุนในทางกลับกัน ฝั่งตลาดหมี 70% คาดว่า เยนญี่ปุ่นจะแข็งค่าขึ้นและราคาจะปรับลดลงมาที่ราคาต่ำสุดของวันที่ 21 กันยายนที่ 104.00 โดยมีแนวรับ ได้แก่ 105.00 และ 104.45 - คริปโตเคอเรนซี ดัชนีหุ้นขยับขึ้นและคู่ BTC/USD เติบโตขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงให้เหตุผลให้เราสามารถพูดถึงความสัมพันธ์ของบิทคอยน์กับดัชนี S&P500 และดาวน์โจนส์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชื่อดังบางท่านเชื่อว่า ความพึ่งพาอาศัยกันนี้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ในส่วนซีอีโอบริษัทการระดมทุน Social Capital นายชามาต พาลิฮาพิติยา กล่าวในบทสัมภาษณ์กับ CNBC ว่า เขายังคงมองว่าบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ประกันความเสี่ยงต่อระบบการเงินสมัยใหม่ “ณ ระดับพื้นฐานนั้น BTC ไม่มีความสัมพันธ์กับตลาดดั้งเดิมทั่วไป เพราะมันขึ้นอยู่กับชุดความเชื่อที่อยู่ขั้วตรงกันข้ามกับทัศนคติที่ปกครองโลกสมัยใหม่ นี่คือหลักประกันที่ทำให้ผมนอนหลับอย่างสบายใจได้ในกรณีที่ธนาคารกลางและสถาบันต่าง ๆ ของโลกปะทุขึ้นมา” กล่าวโดยพาลิฮาพิติยา
ตามความเห็นของกองทุน ARK ผู้เชี่ยวชาญในฐานะหนึ่งในผู้ถือหุ้น Tesla ชี้ว่า มูลค่ารวมของบิทคอยน์อาจเกิน $5 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 10 ปี แต่การลงทุนขนานใหญ่นั้นอาจเริ่มขึ้นก่อนหน้านั้น ตัวเลขนี้อาจขยับขึ้นถึง $1 ล้านล้านเหรียญภายใน 5 ปี หลังจากนั้น อัตราการเติบโตจะเร่งตัวขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์ ดังนั้นตามความเห็นของ นายบ็อบบี ลี กรรมการในบอร์ดผู้บริหาร Bitcoin Foundation เชื่อว่า ราคาบิทคอยน์อาจขยับถึง $500,000 ดอลลาร์ได้ภายในปี 2028
คำทำนายของนักวิเคราะห์ Bloomberg นายไมค์ แม็คโกลน ก็น่าสนใจด้วยเช่นกัน เขามองว่า ราคาบิทคอยน์อาจเกิน $100,000 ภายใน 5 ปี เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ ในปี 2011 BTC มีมูลค่า $10 ส่วนปี 2013 ที่ $1,000 และใช้เวลาสี่ปีราคาจึงมาที่ $10,000 ในปี 2017 กล่าวคือ อัตราการเติบโตนั้นชะลอตัว จึงจะใช้เวลาอีกแปดปีไม่ใช่สี่ปี ที่ราคาจะขยับถึงจุดสูงสุดถัดไป โดยถือว่าระดับสูงสุดได้ผ่านมาแล้วสามครั้ง BTC จึงจะทะยานขึ้นไป $100,00 ภายในปี 2025 นายไมค์ แม็คโกลน ยังคาดการณ์ด้วยว่า BTC จะกลับมาที่ระดับสูงสุดของปี 2019 ที่ $14,000 ภายในสิ้นปีนี้
สำหรับคำทำนายในภาพกว้างกว่าสำหรับสัปดาห์ที่จะถึงนี้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้วนั้น ผลลัพธ์ขยับขึ้น 500 จุด: โดยแนวรับหลักคาดว่าอยู่ที่ $10,500 แนวต้านที่ $11,500 โดยมีนักวิเคราะห์เพียง 10% เท่านั้นที่มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ราคาจะตัดทะลุอย่างมั่นใจไปที่ $12,000
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ